วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๖

บันทึกอนุทิน


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557


กิจกรรมในครั้งนี้

        ในการเรียนครั้งนี้ถือว่าเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายของภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

รายวิชานี้แล้ว วันนี้อาจารย์ก็ให้ทุกคนเขียนความรู้สึกในการเรียนรายวิชานี้ พร้อมประเมิน

อาจารย์ด้านต่างๆ เรียนกับอาจารย์เบียร์ครั้งนี้บอกได้เลยว่า สนุกมากๆมีความสุขสุดๆ

ไม่เคยง่วงเลยเมื่อเรียนวิชานี้ อาจารย์มีความเข้าใจนักศึกษาอย่างมาก คอยช่วยเหลือ

ให้คำปรึกษาทุกๆเรื่อง ถือว่าอาจารย์ใส่ใจและดูแลพวกเราดีมากๆเลยครับ

       ก่อนการเช็คชื่ออาจารย์ก็ได้มอบรางวัลให้กับคนที่มีตัวปั๊มใบคะแนนเยอะที่สุดในห้องถึง

 7 คน (ผมรู้อยุ่แล้วว่าผมไม่ได้แน่ๆเนื่องจากตอนต้นเทอมยังไม่ได้อัพบล็อก^^) แต่เมื่ออาจารย์

ได้ให้รางวัลกับเพื่อนทั้ง 7 คนเสร็จ อาจารย์ก็ได้บอกว่ามีหนึ่งคนที่อาจารย์อยากให้ ซึ่งเขาได้

น้อยกว่าเพื่อนๆ 1 คะแนน คือ ได้ 16 คะแนนและเป็นหัวหน้าห้อง นั่นคือ ผมนั่นเอง

ผมอยากบอกว่าขอขอบพระคุณอาจารย์เบียร์มากๆเลยนะครับสำหรับรางวัลและความรู้

ในการเรียนรายวิชานี้ซึ่งสามารถทำให้ผมและเพื่อนๆสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงข้อคิด

ในเรื่องต่างๆของการเป็นครู ซึ่งทำให้ผมสามารถจดจำและนำไปใช้ในอนาคตได้จริง

อยากบอกอาจารย์เบียร์ว่า ประทับใจมากที่สุดเลยเลยครับ ยังไงเทอมหน้าหรือทุกๆเทอมขอให้

ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์อีกนะครับ ขอบคุณครับ ^^




ขอบคุณนะครับ ตุ๊กตาหมีน้อยแม่เหล็ก จากอาจารย์เบียร์

น่ารักมุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้งที่สุดเลยครับ:)


วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๕

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้
   
    ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง เด็กสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งสามารถสรุปความรู้ที่ได้รับเป็น Mind map 

ได้ดังนี้





   และกระผมก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นมาโดยมีดังนี้


เรียนรู้และเข้าใจเด็กสมาธิสั้น

รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น ?

      เด็กสมาธิสั้น สั้นแค่ไหนถึงเป็นโรค หรือความผิดปกติ ที่จะต้องพาไปหาหมอ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า

ลูกเป็นสมาธิสั้น เป็นคำถามที่พ่อแม่หลายท่านสงสัยกัน การที่จะบอกว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย 

เนื่องจากอาการของสมาธิสั้นคล้ายๆ กับอาการของปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่าง ก่อนอื่นควรมาทำความ

รู้จักกับ “สมาธิสั้น” กันก่อนนะครับ

    บางคนอาจเรียกว่าเด็กสมาธิสั้น บางคนอาจเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ ก็คืออย่างเดียวกันนะครับ อย่าไป

สับสน มาจากชื่อภาษาอังกฤษคำเต็มว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือที่เรียกย่อว่า ADHD

เป็นลักษณะที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบด้วย

ปัญหาหลักใน 3 ด้านคือ

1) สมาธิสั้น

2) ซนอยู่ไม่นิ่ง

3) หุนหันพลันแล่น


การเสริมสร้างความภูมิใจแก่เด็กสมาธิสั้นมีความสำคัญอย่างไร ?


     เด็กสมาธิสั้นมักจะทำงานไม่ค่อยสำเร็จ ทำให้ถูกดุถูกว่าเป็นประจำ จนหมดความมั่นใจ และมีภาพ

ลักษณ์ของตนเองที่ไม่ค่อยดีนัก มองว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทำให้เริ่มขาดแรงจูงใจ

ในการเรียน ไม่อยากเรียน ไม่ทำการบ้าน และเริ่มเสาะแสวงหาช่องทางอื่นๆที่จะเสริมความมั่นใจอย่าง

ไม่เหมาะสม เช่น แกล้งเพื่อน เถียงพ่อแม่และคุณครู ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ และในที่สุดก็กลายเป็นเด็กเกเร 

ก้าวร้าว รุนแรง

     การสร้างเสริมความภูมิใจให้เด็กจึงมีความสำคัญมาก ที่จะดึงเขากลับสู่เส้นทางที่เหมาะสม สามารถ

ทำได้โดยเริ่มจากการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเด็กเอง ให้มีภาพการทำงานที่สำเร็จเสร็จตามมอหมาย 

โดยต้องคอยประกบ ให้คำแนะนำ และช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดในช่วงแรก แบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ 

และติดตามเป็นระยะ ให้กำลังใจ ให้คำชม และให้รางวัลตามความเหมาะสม

     เมื่อเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ ก่อความเสียหาย ไม่ควรตำหนิว่าเด็กนิสัยไม่ดี แต่ควรจะเตือนและสอน

อย่างสม่ำเสมอว่าอะไรไม่เหมาะสม และสิ่งที่ควรทำคืออะไร เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง 

ถ้าเห็นว่าควรทำโทษ ก็ทำโทษอย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง

    นอกจากนี้ ควรมองหาจุดเด่น และความสามารถของเด็กในด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความภาค

ภูมิใจ เช่น ดนตรี กีฬา หรือศิลปะ หรือส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกในสิ่งที่ดีๆ เช่น มีน้ำใจช่วย

เหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดาน หรืองานมอบหมายพิเศษอื่นๆ

   
   โดยสรุปคือ พยายามเพ่งเล็งหาสิ่งที่ดีในตัวเด็ก และแสดงให้เขารู้ว่าเราเห็นและชื่นชมในสิ่ง

ที่เขามี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่คอยจับผิด หรือตำหนิในสิ่งที่เขาทำไม่ดี แต่ควรแนะนำว่าเขา

ควรแก้ไขใหม่อย่างไร ควรช่วยเหลือสร้างภาพลักษณ์แห่งความสำเร็จให้มีในตัวเด็ก สิ่งเหล่านี้

จะสร้างความภูมิใจในตัวเด็ก และเป็นจุดเริ่มต้นที่เด็กจะพยายามแก้ไข และควบคุมตนเองใน

หนทางที่เหมาะสม


สมาธิสั้น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่สำคัญที่ว่า จัดการกับสมาธิสั้นได้เหมาะสมหรือไม่มากกว่า


การประเมินผล

        ตนเอง : ในครั้งนี้ตนเองขาดสมาธิในการเรียนไปบ้าง อาจมีเล่น/แกล้งเพื่อนบ้างบางครั้ง

แต่ถือว่าตนเองมีความสนใจในการเรียนการสอนของอาจารย์ดี เข้าเรียนตรงต่อเวลา

แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการเรียน

      
       เพื่อน : มีความตั้งใจเรียนดีมาก สนใจการสอนของอาจารย์ อาจมีพูดคุยกันบ้างเล็กน้อย

มีการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นบ้างบางส่วน โดยรวมถือว่า ดี


      อาจารย์ : มีการสอนที่สนุก ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการเรียน มีการแสดง

ท่าทางประกอบการสอนตามหัวข้อต่างๆ มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้ใน

อนาคตในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้จริง และได้ความรู้เพิ่มเติมจากเทคนิคต่างๆ

ในการสอน/ช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นที่สามารถไปใช้ได้จริงและเหมาะสม โดยรวมการสอนของ

อาจารย์วันนี้ ดีมากครับ ^^

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๔

บันทึกอนุทิน



วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเข้าร่วมกิจกรรมรายวิชาการจัดประสบการณ์

นาฏศิลป์และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย




กิจกรรมภายในงานมีดังนี้

      การแสดงนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ประยุกต์ การแสดงจินตลีลา นิทาน/ละครสร้างสรรค์

โดยชุดการแสดงมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

๑.ระบำดอกบัว

๒.ระบำเงือก

๓.ระบำตังหวาย

๔.ระบำเกาหลี (นานาชาติ)

๕.รำขวัญข้าว

๖.นิทานสร้างสรรค์ เรื่องผ้าเช็ดหน้าวิเศษ

๗.นาฏศิลป์ประยุกต์ เพลงหางเครื่อง

๘.จินตลีลา เพลงเดินตามรอยเท้าพ่อ

๙.รำสี่ภาค




ภาพรวมการแสดงทั้ง ๙ ชุด



ภาพรวมนักแสดง



ภาพรวมผู้จัดกิจกรรมโครงการ


    การประยุกต์/นำไปใช้จากการจัดกิจกรรม

    สามารถเป็นแนวทางในการจัดชุดการแสดง ลำดับการแสดงก่อน-หลัง ความเหมาะสมกับ

การเลือกผู้แสดง รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้อืนโดยวางแผนร่วมกันและแก้ปัญหาร่วมกัน

ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ให้กับตัวเราอย่างมาก


การประเมินผลกิจกรรม

  การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการจัดกิจกรรมแบบเร่งด่วน อาจมีปัญหาหลายด้าย มีการ

แก้ปัญหาตั้งวันแรกถึงวันที่จัดกิจกรรม อาจมีปัญหาทางด้านการประสานงาน เอกสาร 

หรือจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น แต่โดยรวมถือว่า การจัดงานครั้งนี้ ประสบความสำเร็จ

ระดับหนึ่ง กระผมต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทุกๆท่านที่ให้

ความช่วยเหลือพร้อมแก้ไขปัญหาด้านต่างๆจนพวกเราทำกิจกรรมนี้ได้สำเร็จ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๓

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



กิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งนี้

        วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มี

ความต้องการพิเศษ โดยสามารถสรุปเป็น Mind map ได้ดังนี้




การประยุกต์และการนำไปใช้

       สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้ไปเผยแพร่ให้กับครอบครัวที่มีเด็กกลุ่มนี้อยู่

เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสม เต็มศักยภาพ

และสามารถนำความรู้ หลัก/วิธีการต่างๆในการจัดกิจกรรม เป็นแนวทางในการสอนเด็ก

ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจ


การประเมินผล

        ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย สนใจการอธิบายของอาจารย์ดี

อาจมีพูดคุยหรือเล่นกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย โดยรวมการเรียนในครั้งนี้ ถือว่า มีสมาธิดี


        เพื่อน  ตั้งใจเรียนดีมาก ไม่พูดคุยกันขณะอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการเรียน

เข้าเรียนตรงต่อเวลา อาจมีบางคนเข้าเรียนช้า โดยรวมการเรียนครั้งนี้ ตั้งใจเรียนดีมาก


      อาจารย์  มีรูปแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ มีการนำ วีดีโอ มาให้นักศึกษาได้ดูเพื่อ

เป็นความรู้เพิ่มเติม มีการเตรียมเนื้อหาการสอนมาดีมาก ทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจ

การสอนไม่น่าเบื่อ สนุกและทำให้นักศึกษาประทับใจทุกคน ^^ 

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๒

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


กิจกรรมในการเรียนการสอนวันนี้


         การเรียนการสอนครั้งนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนการสอบกลางภาคของแต่ละคน

พร้อมเฉลยคำตอบและอธิบายคำตอบที่ถูกต้องว่าทำไมจึงตอบคำตอบนี้ ถือว่าเป็นการทบทวน

ความรู้อีกครั้งและยังเป็นการสรุปเรื่องที่เรียนที่ผ่านมาอีกด้วย


การประเมินผล


          ตนเอง : คะแนนสอบในครั้งนี้ถือว่าตนเองพอใจในคะแนนระดับหนึ่ง เพราะ ถือว่าในการ

สอบที่ผ่านมาตนมีความพร้อมระดับกลางๆอาจมีข้อผิดพลาดในการตอบคำถามข้ออื่น 

รวมทั้งความสับสนในการตอบคำถาม แต่เมื่อเห็นคะแนนถือว่าพอใจ และต้องขอขอบคุณ

อาจารย์มากๆเลยนะครับที่มีการทบทวน พร้อมอธิบายเฉลยคำตอบ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ

และรู้ว่าข้อใดคือคำตอบที่ถูกต้อง


        เพื่อน : โดยรวมวันนี้คะแนนสอบของทุกคนออกมาค่อนข้างดี เพื่อนส่วนใหญ่วันนี้

มีความตั้งใจ สนใจในการอธิบายของอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย อาจมีบางคนเข้าเรียนสาย

โดยรวมถือว่า ดี

    
       อาจารย์ : เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการอธิบาย เฉลยคำตอบได้อย่างละเอียดครบถ้วน

สามารถทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และการเรียนการสอนในครั้งนี้

ดูสนุกและทำให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน โดยรวมการสอนของอาจารย์วันนี้ ดีมาก ครับ



ครั้งที่ ๑๑

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 28 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557


สอบกลางภาครายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



ครั้งที่ ๑๐

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557



เนื้อหาการเรียนการสอนในครั้งนี้


1.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์



2.เด็กที่มีความพิการซ้อน



เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์







เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


1.กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจนซึ่งควรมีความ

สัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน


2.ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรง

กันและปฏิบัติตาม

3.ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่

เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
4.ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติ

ตามกฎหากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
5.ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของ

เด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป

6.ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้

นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ

7.ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม

หรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงใน

กระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงใน

ภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
8.ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ



เด็กที่มีความพิการซ้อน






แนวทางในการสอน/การช่วยเหลือเด็กที่มีความพิการซ้อน

1.เด็กพิการซ้อนย่อมปรารถนาซึ่งความเป็นปกติและได้รับการยอมรับไม่ต่างไปจากเด็กปกติ โดยครูควร

สนใจและสังเกตสิ่งที่เด็กสามารถทำได้หรือทำไม่ได้
2.ค้นหาสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ดีและต่อยอดความสามารถนั้น เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกว่าตนประสบความ

สำเร็จได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
3.ตั้งความคาดหวังให้สูงเข้าไว้ เพราะเด็กพิการซ้อนก็สามารถพัฒนาได้
4.เด็กที่มีปัญหาในเรื่องสมาธิ จะได้รับประโยชน์จากการทำงานที่มีเวลาจำกัด เพราะถือเป็นการช่วยให้

เด็กได้จัดการตนเอง อย่างไรก็ตาม ครูไม่ควรลืมว่าเขาจะเขียนได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป จึงอาจจำเป็นต้องลด

ปริมาณงานหรือการบ้านสำหรับเด็กกลุ่มนี้
5.ครูควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะ

ความเครียดหรือซึมเศร้า เช่น เด็กอาจแสดงออกถึงลักษณะดังต่อไปนี้ในระดับที่มากขึ้น เช่น สับสน ไม่

เป็นระเบียบ ขาดความกระตือรือร้น และปลีกตัวอยู่คนเดียว รวมทั้งมีอาการเหนื่อยเรื้อรัง หรืออาจแสดง

สัญญาณที่อาจนำไปสู่ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ดังนั้นครูไม่ควรวางใจ แม้เด็กจะบอกว่า “ไม่เป็นไร” 

ก็ตาม
6.ไม่เพิกเฉยต่อการกระทำหยาบคายของเด็กคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการดูถูกด้วยคำพูดหรือการกระทำ
7.ใช้โอกาสเมื่อเด็กพิการซ้อนไม่อยู่ในห้องเรียน สำหรับสอนเด็กทุกคนอย่างจริงจังถึงความจริงเกี่ยวกับ

ความพิการ เพื่อให้เด็กตระหนักถึงความผิดปกติที่ควรได้รับการช่วยเหลือ พร้อมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เด็ก

ยอมรับและเคารพเด็กพิการด้วยทัศนคติที่ดี
8.ไม่ควรแสดงออกว่าสงสารเด็ก เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการความสงสารหรือเวทนา
9.ชมเชยรูปลักษณ์ของเด็กเป็นประจำ เช่น ทรงผม การแต่งกาย เป็นต้น
10.ปรับรูปแบบกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เด็ก เพื่อให้เด็กสามารถเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

ทุกคนได้เช่นกัน
11.หาโอกาสคุยกับเด็กตัวต่อตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขาว่าครูพร้อมจะช่วยเหลือเขาเสมอ
    

การประเมินผล
      ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเรียนดี มีการตอบคำถาม

อาจารย์ บางคำถามที่ตนเข้าใจและสามารถตอบได้


      เพื่อน : มีความตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน มีการตอบคำถามบ้าง

บางคน อาจมีเล่น/คุยบ้างเล็กน้อย


      อาจารย์ : มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดี ครบถ้วน สามารถ

ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและนำไปปรับใช้ได้