บันทึกอนุทิน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557
เนื้อหาการเรียนการสอนในครั้งนี้
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
2.เด็กที่มีความพิการซ้อน
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
1.กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจนซึ่งควรมีความ
สัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน
2.ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรง
กันและปฏิบัติตาม
3.ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่
เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
4.ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติ
ตามกฎหากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
5.ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของ
เด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป
6.ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้
นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ
7.ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม
หรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงใน
กระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงใน
ภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
8.ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ
เด็กที่มีความพิการซ้อน
แนวทางในการสอน/การช่วยเหลือเด็กที่มีความพิการซ้อน
1.เด็กพิการซ้อนย่อมปรารถนาซึ่งความเป็นปกติและได้รับการยอมรับไม่ต่างไปจากเด็กปกติ โดยครูควร
1.เด็กพิการซ้อนย่อมปรารถนาซึ่งความเป็นปกติและได้รับการยอมรับไม่ต่างไปจากเด็กปกติ โดยครูควร
สนใจและสังเกตสิ่งที่เด็กสามารถทำได้หรือทำไม่ได้
2.ค้นหาสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ดีและต่อยอดความสามารถนั้น เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกว่าตนประสบความ
สำเร็จได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป
3.ตั้งความคาดหวังให้สูงเข้าไว้ เพราะเด็กพิการซ้อนก็สามารถพัฒนาได้
4.เด็กที่มีปัญหาในเรื่องสมาธิ จะได้รับประโยชน์จากการทำงานที่มีเวลาจำกัด เพราะถือเป็นการช่วยให้
เด็กได้จัดการตนเอง อย่างไรก็ตาม ครูไม่ควรลืมว่าเขาจะเขียนได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป จึงอาจจำเป็นต้องลด
ปริมาณงานหรือการบ้านสำหรับเด็กกลุ่มนี้
5.ครูควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะ
ความเครียดหรือซึมเศร้า เช่น เด็กอาจแสดงออกถึงลักษณะดังต่อไปนี้ในระดับที่มากขึ้น เช่น สับสน ไม่
เป็นระเบียบ ขาดความกระตือรือร้น และปลีกตัวอยู่คนเดียว รวมทั้งมีอาการเหนื่อยเรื้อรัง หรืออาจแสดง
สัญญาณที่อาจนำไปสู่ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ดังนั้นครูไม่ควรวางใจ แม้เด็กจะบอกว่า “ไม่เป็นไร”
ก็ตาม
6.ไม่เพิกเฉยต่อการกระทำหยาบคายของเด็กคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการดูถูกด้วยคำพูดหรือการกระทำ
7.ใช้โอกาสเมื่อเด็กพิการซ้อนไม่อยู่ในห้องเรียน สำหรับสอนเด็กทุกคนอย่างจริงจังถึงความจริงเกี่ยวกับ
ความพิการ เพื่อให้เด็กตระหนักถึงความผิดปกติที่ควรได้รับการช่วยเหลือ พร้อมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เด็ก
ยอมรับและเคารพเด็กพิการด้วยทัศนคติที่ดี
8.ไม่ควรแสดงออกว่าสงสารเด็ก เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการความสงสารหรือเวทนา
9.ชมเชยรูปลักษณ์ของเด็กเป็นประจำ เช่น ทรงผม การแต่งกาย เป็นต้น
10.ปรับรูปแบบกิจกรรมและอำนวยความสะดวกแก่เด็ก เพื่อให้เด็กสามารถเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
ทุกคนได้เช่นกัน
11.หาโอกาสคุยกับเด็กตัวต่อตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขาว่าครูพร้อมจะช่วยเหลือเขาเสมอ
การประเมินผล
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย สนใจในการเรียนดี มีการตอบคำถาม
อาจารย์ บางคำถามที่ตนเข้าใจและสามารถตอบได้
เพื่อน : มีความตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน มีการตอบคำถามบ้าง
บางคน อาจมีเล่น/คุยบ้างเล็กน้อย
อาจารย์ : มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ เตรียมเนื้อหาการสอนมาดี ครบถ้วน สามารถ
ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายและนำไปปรับใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น