วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ ๑๕

บันทึกอนุทิน

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้
   
    ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง เด็กสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งสามารถสรุปความรู้ที่ได้รับเป็น Mind map 

ได้ดังนี้





   และกระผมก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นมาโดยมีดังนี้


เรียนรู้และเข้าใจเด็กสมาธิสั้น

รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น ?

      เด็กสมาธิสั้น สั้นแค่ไหนถึงเป็นโรค หรือความผิดปกติ ที่จะต้องพาไปหาหมอ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า

ลูกเป็นสมาธิสั้น เป็นคำถามที่พ่อแม่หลายท่านสงสัยกัน การที่จะบอกว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย 

เนื่องจากอาการของสมาธิสั้นคล้ายๆ กับอาการของปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่าง ก่อนอื่นควรมาทำความ

รู้จักกับ “สมาธิสั้น” กันก่อนนะครับ

    บางคนอาจเรียกว่าเด็กสมาธิสั้น บางคนอาจเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ ก็คืออย่างเดียวกันนะครับ อย่าไป

สับสน มาจากชื่อภาษาอังกฤษคำเต็มว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือที่เรียกย่อว่า ADHD

เป็นลักษณะที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบด้วย

ปัญหาหลักใน 3 ด้านคือ

1) สมาธิสั้น

2) ซนอยู่ไม่นิ่ง

3) หุนหันพลันแล่น


การเสริมสร้างความภูมิใจแก่เด็กสมาธิสั้นมีความสำคัญอย่างไร ?


     เด็กสมาธิสั้นมักจะทำงานไม่ค่อยสำเร็จ ทำให้ถูกดุถูกว่าเป็นประจำ จนหมดความมั่นใจ และมีภาพ

ลักษณ์ของตนเองที่ไม่ค่อยดีนัก มองว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทำให้เริ่มขาดแรงจูงใจ

ในการเรียน ไม่อยากเรียน ไม่ทำการบ้าน และเริ่มเสาะแสวงหาช่องทางอื่นๆที่จะเสริมความมั่นใจอย่าง

ไม่เหมาะสม เช่น แกล้งเพื่อน เถียงพ่อแม่และคุณครู ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ และในที่สุดก็กลายเป็นเด็กเกเร 

ก้าวร้าว รุนแรง

     การสร้างเสริมความภูมิใจให้เด็กจึงมีความสำคัญมาก ที่จะดึงเขากลับสู่เส้นทางที่เหมาะสม สามารถ

ทำได้โดยเริ่มจากการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเด็กเอง ให้มีภาพการทำงานที่สำเร็จเสร็จตามมอหมาย 

โดยต้องคอยประกบ ให้คำแนะนำ และช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดในช่วงแรก แบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ 

และติดตามเป็นระยะ ให้กำลังใจ ให้คำชม และให้รางวัลตามความเหมาะสม

     เมื่อเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ ก่อความเสียหาย ไม่ควรตำหนิว่าเด็กนิสัยไม่ดี แต่ควรจะเตือนและสอน

อย่างสม่ำเสมอว่าอะไรไม่เหมาะสม และสิ่งที่ควรทำคืออะไร เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง 

ถ้าเห็นว่าควรทำโทษ ก็ทำโทษอย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง

    นอกจากนี้ ควรมองหาจุดเด่น และความสามารถของเด็กในด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความภาค

ภูมิใจ เช่น ดนตรี กีฬา หรือศิลปะ หรือส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกในสิ่งที่ดีๆ เช่น มีน้ำใจช่วย

เหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดาน หรืองานมอบหมายพิเศษอื่นๆ

   
   โดยสรุปคือ พยายามเพ่งเล็งหาสิ่งที่ดีในตัวเด็ก และแสดงให้เขารู้ว่าเราเห็นและชื่นชมในสิ่ง

ที่เขามี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่คอยจับผิด หรือตำหนิในสิ่งที่เขาทำไม่ดี แต่ควรแนะนำว่าเขา

ควรแก้ไขใหม่อย่างไร ควรช่วยเหลือสร้างภาพลักษณ์แห่งความสำเร็จให้มีในตัวเด็ก สิ่งเหล่านี้

จะสร้างความภูมิใจในตัวเด็ก และเป็นจุดเริ่มต้นที่เด็กจะพยายามแก้ไข และควบคุมตนเองใน

หนทางที่เหมาะสม


สมาธิสั้น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่สำคัญที่ว่า จัดการกับสมาธิสั้นได้เหมาะสมหรือไม่มากกว่า


การประเมินผล

        ตนเอง : ในครั้งนี้ตนเองขาดสมาธิในการเรียนไปบ้าง อาจมีเล่น/แกล้งเพื่อนบ้างบางครั้ง

แต่ถือว่าตนเองมีความสนใจในการเรียนการสอนของอาจารย์ดี เข้าเรียนตรงต่อเวลา

แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการเรียน

      
       เพื่อน : มีความตั้งใจเรียนดีมาก สนใจการสอนของอาจารย์ อาจมีพูดคุยกันบ้างเล็กน้อย

มีการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นบ้างบางส่วน โดยรวมถือว่า ดี


      อาจารย์ : มีการสอนที่สนุก ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการเรียน มีการแสดง

ท่าทางประกอบการสอนตามหัวข้อต่างๆ มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้ใน

อนาคตในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้จริง และได้ความรู้เพิ่มเติมจากเทคนิคต่างๆ

ในการสอน/ช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นที่สามารถไปใช้ได้จริงและเหมาะสม โดยรวมการสอนของ

อาจารย์วันนี้ ดีมากครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น